นมผึ้ง (Royal Jelly) – iHerb สั่งซื้ออะไรดี

นมผึ้ง หรือ Royal Jelly อาจเป็นที่รู้จักกันในหมู่คนรักสุขภาพบางกลุ่มเท่านั้น หลายคนรับประทานนมผึ้งเพื่อบำรุงสุขภาพผิวและสุขภาพกาย ไปดูกันว่า นมผึ้งคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

นมผึ้ง (Royal Jelly) คืออะไร

นมผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Royal Jelly อ่านว่า รอยัลเยลลี่ โดย นมผึ้ง ก็คือ สารชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมที่อยู่บริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน (hypo-pharyngeal gland) มีลักษณะเป็นครีมสีขาวคล้ายนมข้นหวานมีกลิ่นออกเปรี้ยว และรสเผ็ดนิดๆ สำหรับผึ้งแล้ว นมผึ้งมีประโยชน์เพราะเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนของผึ้งและราชินี ตัวอ่อนของผึ้งงานจะได้รับนมผึ้งเพียง 3 วันแรกที่ออกจากไข่ ส่วนตัวอ่อนที่เป็นราชินีจะได้รับนมผึ้งนี้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยบำรุงให้ราชินีผึ้งมีอายุยืนนานกว่า (ราชินีผึ้งมีอายุประมาณ 4-5 ปี ผึ้งงานมีอายุประมาณ 45 วัน) มีขนาดและน้ำหนักตัวมากกว่าผึ้งชนิดอื่น และทำให้ราชินีผึ้งสามารถออกไข่ได้วันละประมาณ 2,000-3,000 ฟอง โดยจะวางไข่ทุกวัน ด้วยเหตุนี้จึง นมผึ้งจึงถูกเรียกว่า อาหารทิพย์ วุ้นทิพย์ วุ้นราชินี อาหารราชินี หรือ อาหารนางพญา

ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง คือ ผลิตภัณฑ์ของผึ้งที่ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งนางพญา มีลักษณะเหมือนครีมข้นสีขาว และหมายความรวมถึง นมผึ้งที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้งด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดหรือลักษณะอื่น

ส่วนประกอบของนมผึ้ง (Royal jelly)

ส่วนประกอบหลักของนมผึ้ง คือ น้ำ โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน และสารชีวโมเลกุล ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างตามฤดูกาลและพื้นที่ นมผึ้งมีค่า pH ประมาณ 3.6-4.2 มีฤทธิ์เป็นกรด มีโปรตีนประมาณ 12-15% โดยแบ่งเป็นโปรตีนที่ละลายในน้ำได้ และไม่ละลายในน้ำ โดยโปรตีนที่ละลายในน้ำได้มีมากกว่า 46-89% ของโปรตีนทั้งหมด ในนมผึ้งจะมีสารจำพวกไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นโปรตีนหลัก 6 ชนิด และไกลโคโปรตีน 4 ชนิด มีกรดอะมิโนอิสระเฉลี่ย 2.3% และเปปไทด์ (peptide) 0.16% ของสารประกอบไนโตรเจน

นมผึ้งมีกรดอะมิโน และอนุพันธ์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มากมาย โดยเฉพาะ aspartic acid เป็นกรดอะมิโนหลักที่จำเป็นสำหรับการเจริญของเนื้อเยื่อ และสร้างถึง 16.1% ของปริมาณโปรตีนในนมผึ้ง และพบว่า aspartic acid และ glutamic acid แสดงบทบาทสำคัญมากในการเป็นศูนย์กลางการทำงานของเอนไซม์

นมผึ้งยังประกอบด้วยเอนไซม์ ได้แก่ เอนไซม์กลูโคสออกซิเดส (glucoseoxidase) ฟอสฟาเตส (phosphatase) คอลีนเอสเทอเรส (cholinesterase) และมีสารที่คล้ายอินซูลิน (insulinlike peptide) รวมถึงเปปไทด์ที่มีกรดอะมิโนที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบรูณ์ ได้แก่ รอยัลไลซีน (royalizin) ประกอบด้วยเรซีดิวส์ของกรดอะมิโน (amino acid residues) 51 โมเลกุล เชื่อมด้วยพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) 3 พันธะ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สมบัติเป็นสารต้านจุลินทรีย์ อะไพซิน(apisin) และรอยัลแลคซิน (royalactin)

นมผึ้งมีฮอร์โมนที่พบ คือ testosterone คือประมาณ 0.012 g/g ในนมผึ้งสด และ progesterone ประมาณ 0.003 g/g ในนมผึ้งสด

นมผึ้งมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 6-18% ของนมผึ้งสด หรือ 18-52% (น้ำหนักแห้ง) มีน้ำตาล ฟรุกโตส และกลูโคสเป็นส่วนมาก (90% ของน้ำตาลทั้งหมด) ยังพบน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งมีปริมาณเพียงเล็กน้อย คือ น้ำตาลมอลโตส (maltose) ทรีฮาโลส (trehalose) เมลิไบโอส (melibiose) ไรโบส (ribose) และเออโลส (erlose) (Krell, 1996) แต่ไม่พบน้ำตาลแลคโตสในนมผึ้งสด

นมผึ้งมีไขมันประมาณ 3-5% ประกอบด้วยกรดไขมันอิสระ 80-90% (น้ำหนักแห้งของไขมันทั้งหมด) ส่วนมากเป็นกรดไขมันที่มีโมเลกุลสายสั้น (short chain fatty acid) โดยพบว่านมผึ้งมีกรดไขมันที่สำคัญ คือ 10 HDA หรือ 10-hydroxy-2-decenoic acid และพบได้เฉพาะในนมผึ้งเท่านั้น จึงได้ชื่อว่ากรดนมผึ้ง (royal jelly acid)

10-HDA (10-hydroxy-d-decenoic acid) เป็นสารพิเศษที่พบในนมผึ้งเท่านั้น มีหน้าที่สำคัญในการปรับระบบการทำงานของร่างกาย ด้วยการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน adrenaline และทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่งงานของประสาท กระตุ้นการขับสารของต่อมและบำรุงระบบประสาท ช่วยปรับพฤติกรรมของเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ ส่วนไหนของร่างกายที่เสื่อม 10–HDA จะเข้าไปซ่อมแซม

ประโยชน์ของนมผึ้ง (Royal jelly)

คุณค่าทางโภชนาการ นมผึ้งเป็นแหล่งของสารอาหารที่ครบถ้วน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ รวมถึงสารประกอบชีวเคมี เช่น เอนไซม์ จากการศึกษาเปรียบเทียบสารอาหารของนมวัว กับ นมผึ้ง พบว่านมผึ้งมีปริมาณโปรตีนมากกว่านมวัวประมาณ 5 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าประมาณ 3 เท่า และมีปริมาณวิตามินที่มากกว่าในนมวัว

คุณค่าทางการแพทย์และการรักษาโรค ได้มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา พบว่านมผึ้งมีกรด 10-HDA ซึ่งจากงานวิจัยพิสูจน์แล้วพบว่า 10-HDA มีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียหลายชนิดทั้งแกรมบวก และแกรมลบ รวมทั้งเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั่วๆ ไป เช่น Proteus Vularis หรือ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียมักพบในกรดไขมันที่มีคาร์บอน 6 อะตอม จะมีฤทธิ์สูงสุด และกรด 10-HDA มีฤทธิ์สูงกว่ากรดไขมันตัวอื่นที่มีจำนวนคาร์บอนอะตอมเท่ากัน โดยกรด 10-HDA มีประสิทธิภาพประมาณ 75% ของเพนนิซิลิน (penicilin)

นอกจากนั้นยังพบว่า นมผึ้งมีฤทธิ์ในการต้านสารกัมมันตรังสี และต้านการเจริญ และช่วยยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง (Bincoletto et al., 2005; Majtan et al., 2006) ลดอาการอักเสบของเซลล์มะเร็ง (Townsend et al., 1960) และจากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายมาก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับนมผึ้งมีการอักเสบรอบก้อนมะเร็งน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก (placebo) ซึ่งหมายถึง สารที่ไม่ก่อเกิดขบวนการทางเภสัชในการรักษา มีลักษณะปรากฏภายนอกเหมือนยาจริง (ยาที่ออกฤทธิ์ตามกลไกเภสัชศาสตร์) แล้วนำมาใช้ในการแพทย์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้มากในการศึกษาวิจัย ถูกใช้เป็นตัวอ้างอิงเปรียบเทียบเพื่อควบคุมการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบยา เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพของยาจริง (Hart, 1999) จากการศึกษาในระบบทางเดินอาหารของหนูทดลองพบว่า นมผึ้งลดอัตราการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้ และมีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

สารสำคัญอื่นๆที่พบในนมผึ้งและมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่

  • อะเซทิลคอลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของประสาทในมนุษย์ มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดจึงสามารถช่วยลดความดันเลือดได้ (Shimoda et al., 1978)
  • สารฤทธิ์คล้ายอินซูลิน (insulinlike peptide) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (Fujii et al., 1990) มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
  • กรดซีบาสิด (sebacid acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราที่ผิวหนัง และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด (อิทธิพล, 2545)
  • ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ช่วยให้ผิวหนังสดใส และไร้สิวฝ้า (สุภาภรณ์, 2539)
  • ไอโนซิทอล (inositol) ซึ่งช่วยขจัดไขมันตกค้างในตับ ลดคอเลสเทอรอลในเส้นเลือด (Nakajin et al., 1982) และยังเป็นสารต้านความเครียด และช่วยบำรุงรักษาเส้นผม ช่วยเสริมการสร้างคอลาเจน (Miyata et al., 2004)

นอกจากนี้นมผึ้งยังมีคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันภาวะกระดูกพรุน ช่วยสร้างเม็ดเลือดและความแข็งแรงของกระดูกในเด็กเล็ก และคนสูงอายุ จะเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น ช่วยดูดซับอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น และช่วยรักษาบาดแผล และป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

จากประโยชน์ของนมผึ้งดังกล่าว จึงได้มีการแนะนำบุคคลที่ควรรับประทานนมผึ้ง ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่อาการหนัก ขาดอาหารหรือรับประทานอะไรไม่ได้ เพื่อให้เกิดความอยากอาหาร และช่วยให้คนไข้หายป่วยเร็วกว่าปกติ
  • ชาย-หญิงที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผู้ที่เป็นหมัน เพราะความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย
  • ผู้ที่มีอาการของโรคกระดูกพรุน ผุกร่อน ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและเส้นเอ็นหรือประสาท เพราะความชราภาพ ความผิดปกติทางระบบประสาทสมอง เช่น รายอุบัติเหตุทางประสาท สมอง หรือประสาทชา สมองมึนงง เพราะขาดอาหารและออกซิเจน หรือความจำเสื่อมในวัยชรา
  • ผู้ที่มีอาการของโรคผิดปกติเกี่ยวกับเม็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด
  • ผู้ที่มีอาการของโรคเมตาโบลิซึมผิดปกติ เช่น ระบบย่อย ระบบขับถ่าย ระบบสร้างและทำลายของร่ายกายไม่ปกติ เช่น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เกาท์ ความดันสูง หัวใจ เบาหวาน เบาจืด ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีอาการของโรคผิดปกติเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนเพศไม่ได้สมดุลย์ เช่น ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดประจำเดือน เป็นสิวมาก เป็นหมันหรือแก่เกินวัย เครียดในวัยใกล้หมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มีอาการของโรคระบบภูมิต้านทานอ่อนแอหรือไม่มี เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นหวัดได้ง่าย โพรงจมูกอักเสบ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีอาการของโรคต่างๆดังกล่าว ก็สามารถรับประทานนมผึ้งเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายและสุขภาพผิวพรรณได้โดยไม่ต้องกังวลถึงอันตรายใดๆ เพราะนมผึ้งเป็นอาหารมีความปลอดภัยสูง ไม่มีการสะสมในลักษณะที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด

ขนาดรับประทานอาหารเสริมนมผึ้ง (Royal jelly)

แม้ว่า นมผึ้ง (Royal Jelly) จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทหนึ่ง แต่องค์การอาหารและยาก็ยังไม่ได้มีการแนะนำถึงปริมาณการบริโภคนมผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ในแต่ละวัน  การกำหนดปริมาณการบริโภคแต่ละวันนั้นตามที่ระบุไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ฉลากข้างขวดอาหารเสริม เป็นเพียงการสะสมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ผลิต และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง

จากการรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าปริมาณการบริโภคการนมผึ้งสด (fresh royal jelly) ต่อวันในผู้ใหญ่จะขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี โดยปริมาณต่ำสุด คือ 100-300 mg/วัน ปริมาณปานกลางคือ 500 mg/วัน และในกรณีที่ต้องการบริโภคอย่างเข้มข้น คือ 800-1,000 mg/วัน ส่วนในเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุ โดยทั่วไปจะรับประทานครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ผู้ใหญ่บริโภค

แนะนำ นมผึ้ง (Royal jelly) ราคาถูก คุณภาพดี จากอเมริกา

Royal-jelly-iherb

1. Now Foods, Royal Jelly, 60 Capsules

ลิงค์ http://www.iherb.com/Now-Foods-Royal-Jelly-60-Capsules/811

2. Source Naturals, Royal Jelly, 500 mg, 60 Capsules

ลิงค์ http://www.iherb.com/Source-Naturals-Royal-Jelly-500-mg-60-Capsules/1385

3. Solgar, Royal Jelly “500”, 60 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Solgar-Royal-Jelly-500-60-Softgels/12415

4. California Gold Nutrition, Royal Jelly , 500 mg, 30 Veggie Caps

ลิงค์ http://www.iherb.com/California-Gold-Nutrition-Royal-Jelly-500-mg-30-Veggie-Caps/62297

5. Thompson, Royal Jelly, 2000 mg, 60 Capsules

ลิงค์ http://www.iherb.com/Thompson-Royal-Jelly-2000-mg-60-Capsules/59375

6. Y.S. Eco Bee Farms, Royal Jelly, Bee Pollen, Propolis, 90 Capsules

ลิงค์ http://www.iherb.com/Y-S-Organic-Bee-Farms-Royal-Jelly-Bee-Pollen-Propolis-90-Capsules/23674

7. Y.S. Eco Bee Farms, Royal Jelly, 11.5 oz (326 g)

ลิงค์ http://www.iherb.com/Y-S-Organic-Bee-Farms-Royal-Jelly-11-5-oz-326-g/23667

8. Montana Big Sky, Bee Pollen, Royal Jelly and Propolis, 90 Capsules

ลิงค์ http://www.iherb.com/Montana-Big-Sky-Bee-Pollen-Royal-Jelly-and-Propolis-90-Capsules/6614

 

คลิกที่นี่ ดู นมผึ้ง (Royal jelly) ทั้งหมด

คลิกที่นี่ สอน วิธีสั่งสินค้า

กลับหน้าแรก

Posted in นมผึ้ง
how-to-iherb iHerb ไทย แบรนด์ลด 20%
Clearance Sale